พุยพุย welcome to unchan'blog

วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 5




การบันทึกครั้งที่ 5
วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2559

  • อาจารย์ให้นักศึกษาทุกคนไปที่อาคารห้องสมุด เพื่อที่จะไปดูภาพยนต์ที่อาจารย์จัดเตรียมให้
  •  อาจารย์ให้นักศึกษาดูวิดีโอ เรื่อง อากาศมหัศจรรย์ ที่ชั้น8 ห้องเธียร์เตอร์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม









อากาศคืออะไร
อากาศอยู่รอบตัวเราเสมอ เราสามารถรู้ว่ามีอากาศอยู่รอบๆตัวเราได้โดยโบกมือไปมา กระแสลมที่เกิดขึ้นและปะทะกับฝ่ามือของเรา ก็แสดงว่าอากาศมีจริง หรือถ้าเรายืนอยู่ในที่ที่มีลมพัดผ่าน เราจะรู้สึกว่ามีอากาศหรือลมพัดมาถูกตัวเรา แรงลมสามารถทำให้เกิดคลื่นน้ำ หรือหมุนกังหันลมได้
บรรยากาศ (Atmosphere) 
คือ มวลก๊าซที่ห่อหุ้มตั้งแต่ผิวโลกจนสูงขึ้นไปประมาณ 900 กิโลเมตร โดยจะเกิดร่วมกับลักษณะทางกายภาพอื่น ได้แก่ อุณหภูมิ ความกดอากาศ ความชื้น ลม และอนุภาคฝุ่นผงหรือมลสาร (Pollutant) ซึ่งอยู่ในระดับต่ำและคงอยู่ได้ด้วยแรงโน้มถ่วงของโลก บรรยากาศที่สูงขึ้นประมาณ 80 กิโลเมตรจะมีส่วนผสมของก๊าซคล้ายคลึงกัน คนในสถานที่ต่างๆจึงหายใจเอาอากาศเข้าไปโดยไม่รู้สึกผิดปกติแต่อย่างใดบรรยากาศจำแนกตามลักษณะและระดับความสูงได้ 2 ส่วน คือ
บรรยากาศส่วนล่าง เป็นส่วนที่อยู่ใกล้ผิวโลก อุณหภูมิจะลดลงตามระดับความสูงทุกระยะที่สูงขึ้น 100 เมตร อุณหภูมิจะลดลง 0.64 องศาเซลเซียสจนกว่าจะถึงบรรยากาศส่วนบนซึ่งอุณหภูมิจะกลับสูงขึ้น จำแนกได้ 3 ชั้น คือ
  1. โทรโปสเฟียร์ (Troposphere) คือ บรรยากาศชั้นล่างสุดสูงจากผิวโลก 8 - 15 กิโลเมตร มีอิทธิพลต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมมากที่สุด อากาศที่มนุษย์หายใจเข้าไปคืออากาศชั้นนี้ ลมฟ้าอากาศจะเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ มีไอน้ำมากมีลมและฝุ่น
  2. สตราโตสเฟียร์ (Stratosphere) ความสูง 15 - 50 กิโลเมตร มีก๊าซโอโซนรวมตัวกันเป็นชั้นบางๆ ก๊าซชนิดนี้เกิดจากการที่โมเลกุลของก๊าซออกซิเจน แตกตัวและจัดรูปแบบขึ้นใหม่ เมื่อถูกรังสีจากดวงอาทิตย์ช่วยดูดซับรังสีเหนือม่วงของแสงอาทิตย์ทำให้บรรยากาศอุ่นขึ้น เครื่องบินไอพ่นจะบินในชั้นนี้เนื่องจากมีทัศนวิสัยดี
  3. มีโซสเฟียร์ (Mesosphere) สูงจากพื้นดิน 50 - 80 กิโลเมตรเหนือชั้นโอโซน อุณหภูมิจะลดลงตามความสูงที่เพิ่มขึ้นโดยอาจต่ำได้ถึง -83 องศาเซลเซียส อุกกาบาตหรือชิ้นส่วนหินจากอวกาศที่ตกลงมามักถูกเผาไหม้ในชั้นนี้ การส่งคลื่นวิทยุทั่วๆไปก็ส่งในชั้นนี้เช่นกัน

2. บรรยากาศส่วนบน มีคุณสมบัติต่างจากชั้นล่าง คือ แทนที่อุณหภูมิจะต่ำลงแต่กลับสูงขึ้นและยิ่งสูงยิ่งร้อนมาก
บรรยากาศส่วนนี้จำแนกเป็น 3 ชั้นเช่นกัน คือ

  1. เทอร์โมสเฟียร์ (Thermosphere) สูง 80 - 450 กิโลเมตร ความหนาแน่นของอากาศจะลดลงอย่างรวดเร็วแต่อุณหภูมิจะสูงขึ้นมาก ซึ่งอาจสูงกว่า 1,000 องศาเซลเซียส สามารถส่งวิทยุคลื่นยาวกว่า 17 เมตรไปได้ทั่วโลก โดยส่งสัญญาณจากพื้นโลกให้คลื่นสะท้อนกับชั้นไอออนของก๊าซไนโตรเจนและออกซิเจน ซึ่งถูกรังสีเหนือม่วงและรังสีเอ็กซ์ทำให้แตกตัว
  2. เอกโซสเฟียร์ (Exsphere) บรรยากาศชั้นนี้สูงจากพื้นโลกประมาณ 450 - 900 กิโลเมตร มีก๊าซอยู่น้อยมาก มนุษย์อวกาศจะต้องควบคุมบรรยากาศให้มีความดันเท่ากับความดันภายในร่างกาย ต้องสวมใส่ชุดที่มีก๊าซออกซิเจนเพื่อช่วยในการหายใจ ดาวเทียมพยากรณ์อากาศจะโคจรรอบโลกในชั้นนี้
  3. แมกเนโตสเฟียร์ (Magnetosphere) ชั้นนี้มีความสูงมากกว่า 900 กิโลเมตร ไม่มีก๊าซใดๆอยู่เลย
ความสำคัญของอากาศและบรรยากาศ 
อากาศและบรรยากาศมีความสำคัญ ดังนี้

  1. มีก๊าซที่จำเป็นต่อการมีชีวิตของมนุษย์ สัตว์และพืช
  2. มีอิทธิพลต่อการเกิด ปริมาณ และคุณภาพของทรัพยากรอื่น เช่น ป่าไม้และแร่ธาตุ
  3. ช่วยปรับอุณหภูมิของโลก โดยเฉพาะไอน้ำและคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งจะช่วยป้องกันการสูญเสียความร้อนจากพื้นดิน ทำให้ความแตกต่างของอุณหภูมิระหว่างกลางวันกับกลางคืน และ ฤดูร้อนกับฤดูหนาวไม่แตกต่างกันมาก และทำให้บริเวณผิวโลกมีความอบอุ่นขึ้น
  4. ทำให้เกิดลมและฝน
  5. มีผลต่อการดำรงชีวิต สภาพจิตใจ และร่างกายของมนุษย์ ถ้าสภาพอากาศไม่เหมาะสม เช่น แห้งแล้งหรือหนาวเย็นเกินไปคนจะอยู่อาศัยด้วยความยากลำบาก
  6. ช่วยป้องกันอันตรายจากรังสีของดวงอาทิตย์ โดยก๊าซโอโซนในบรรยากาศจะกรองหรือดูดซับรังสีอัลตราไวโอเลต ซึ่งทำให้ผิวไหม้เกรียม เป็นโรคมะเร็งผิวหนัง และโรคต้อกระจก
  7. ช่วยเผาไหม้วัตถุที่ตกมาจากฟ้าหรืออุกกาบาตให้กลายเป็นอนุภาคเล็กๆ จนไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์และทรัพย์สิน
  8. ทำให้ท้องฟ้ามีสีสวยงาม โดยอนุภาคของสิ่งอื่นที่ปนอยู่กับก๊าซในบรรยากาศจะทำให้แสงหักเห เราจึงมองเห็นท้องฟ้ามีแสงสีที่งดงามแทนที่จะเห็นเป็นสีดำมืด นอกจากนี้ก๊าซโอโซนซึ่งมีสีน้ำเงินยังช่วยให้มองเห็นท้องฟ้าเป็นสีครามหรือสีฟ้าสดใสอีกด้วย
 ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก http://www.sankyo-asia.com/content--4-1955-20465-1.html


  • จากนั้นเพื่อนก็แจกกระดาษให้คนละ 1 แผ่น ให้ไปคัดลายมือ พยัญชนะไทย 44 ตัว มาส่งสัปดาห์หน้า


  • เมื่อออกมาจากห้องฉายภาพยนต์ อาจารย์ก็เรียกไปรวมพลที่ใต้ตึกนวัตกรรม





    • จากนั้นให้นำของเล่นที่ทุกคนทำออกมานำเสนอ บอกชื่อและวิธีการเล่น พร้อมบอกว่าเกี่ยวยังไงกับวิทยาศาสตร์


     นี่คือของเล่นของฉัน

    ของเล่นมีชื่อว่า รถเคลื่อนที่ด้วยลูกโป่ง 
    • วิธีการเล่น เล่นโดยเป่าลูกโป่งให้ลูกใหญ่ๆ เอามือจับหลอดไว้เพื่อไม่ให้ลมออกจากลูกโป่ง จากนั้นก็ปล่อยมือจากหลอด ปล่อยให้รถเคลื่อนที่ไปตามอัธยาศัย ลมจากลูกโป่งทำให้รถเคลื่อนที่ไปได้นั่นเอง

    • จากนั้นก็ให้ไปชมนิทรรศการที่รุ่นพี่ปี 5 จัด
    • มาชมภาพกันเล้ยยยยยย





    คำศัพท์ 
    Science Toys  = ของเล่นวิทยาศาสตร์
    Exposition = นิทรรศการ
    Air Pressure = แรงดันอากาศ
    Car Wind Power  = รถพลังงานลม
    Wonderful = มหัศจรรย์

    ทักษะที่ได้รับ
    • การคิด
    • การตัดสินใจ
    • การฟัง
    • การดู
    • การสรุปข้อมูล

    การนำมาประยุกต์ใช้
    • สามารถนำเอาองค์ความรู้ที่ได้จากการดูถาพยนตร์ไปปรับใช้ในอนาคต

    บรรยากาศในห้องเรียน
    • มืดและหนาวมาก

    การจัดการเรียนการสอน
    • อาจารย์ให้ชมภาพยนตร์เกี่ยวกับเรื่องอากาศ สนุกมาก ดูแล้วเข้าใจง่าย ถ้าในบทเรียนเป็นแบบนี้ก็คงจะสนุกน่าดู

    ประเมินตนเอง
    • ตั้งใจดูและจดจำ

    ประเมินเพื่อน
    • ทุกคนตั้งใจดู

    ประเมินอาจารย์
    • แต่งกายสุภาพเรียบร้อยดี


      ไม่มีความคิดเห็น:

      แสดงความคิดเห็น