พุยพุย welcome to unchan'blog

วันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2559

สรุปความรู้จากงานวิจัย

ชื่องานวิจัย
การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยด้วยการจัดกิจกรรมการทำเครื่องดื่มสมุนไพร

ปริญญานิพนธ์ของ
วณิชชา สิทธิพล

ความมุ่งหมายของการวิจัย
  1. เพื่อศึกษาระดับของทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ทั้งโดยรวมและราย ก่อนและหลังการทดลองการจัดกิจกรรม
  2. เพื่อเปรียบเทียบระดับของทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ทั้งโดยรวมและราย ก่อนและหลังการทดลองการจัดกิจกรรม
ความสำคัญของการศึกษาค้นคว้า
ผลของการวิจัยครั้งนี้สามารถเป็นแนวทางให้กับครูและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาปฐมวัยได้มีแนวทางในการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยเพิ่มขึ้นอีกแนวทางหนึ่ง ซึ่งกิจกรรมการทำเครื่องดื่มสมุนไพรเป็นกิจกรรมที่ให้เด็กปฐมวัยเรียนรู้จากการทำเครื่องดื่มสมุนไพร ทำให้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ให้เหมาะสมและเกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย โดยวิธีการอท่นในลักษณะเดียวกันได้กว้างขวางมากขึ้น

ขอบเขตของการวิจัย
    ประชาการที่ใช้ในการวิจัย
กลุ่มประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นเด็กปฐมวัย ชาย-หญิง อายุระหว่าง 4-5 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556  ของโรงเรียนวัดชำป่างาม (สายรัฐประชาสรรค์) อำเภอสนามชัยเขต  จังหวะฉะเชิงเทรา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2 จำนวน 50 คน

นิยามศัพท์เฉพาะ
  1. เด็กปฐมวัย หมายถึง เด็กนักเรียน ชาย-หญิง อายุระหว่าง 4-5 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 1ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556  ของโรงเรียนวัดชำป่างาม (สายรัฐประชาสรรค์) อำเภอสนามชัยเขต  จังหวะฉะเชิงเทรา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2 
  2. ทักษพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ หมายถึง พฤติกรรมที่เด็กแสดงออกถึงความสามารถในการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลที่จะนำไปใช้ในทางวิทยาศาสตร์หรือกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ทดสอบได้ด้วยแบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นประกอบด้วย 4 ทักษะ คือ
                                                1. การสังเกต
                                                2. การจำแนก
                                                3. การวัด
                                                4. การสื่อความหมายข้อมูล

     3.  เครื่องดื่มสมุนไพร  หมายถึง  น้ำดื่มที่ได้จากการใช้ส่วนประกอบต่างๆของพืชผักผลไม้ ธัญพืชหรือสมุนไพรต่างๆ ที่ส่งผลต่อสุขภาพ อันหมายถึงทั้งการส่งเสริมสุขภาพและการรักษาโรค นำมาผ่านกระบวนการต่างๆ เช่น คั้นสด ต้ม ปั่น เป็นต้น เนื่องจากงานวิจัยในครั้งนี้ทำการทดลองกับเด็กเล็กจึงเน้นการใช้สมุนไพรประกอบเป็นเครื่องดื่ม เพื่อส่งเสริมสุขภาพทางกาย
แผนการจัดกิจกรรมการทำเครื่องดื่มสมุนไพร
น้ำเต้าหู้
จุดประสงค์
  1. เพื่อพัฒนาทักษะทางวิทยาศาสตร์
  • การสังเกต สามารถบอกการเปลี่ยนแปลงของถั่วเหลืองที่แช่น้ำได้
  • การจำแนก สามารถบอกความแตกต่างของน้ำเต้าหู้ที่ต้มแล้วและยังไม่ได้ต้ม
  • การวัด สามารถตวงถั่วเหลืองที่แช่น้ำแล้วใส่เครื่องปั่นได้
  • การสื่อความหมายข้อมูล สามารถร่วมสนมนาและแสดงความคิดเห็นกับเพื่อนและครูได้
      2. เพื่อให้เด็กได้รู้จักวัสดุอุปกรณ์และส่วนผสมในการทำน้ำเต้าหู้
      3. เพื่อให้เด็กสามารถทำน้ำเต้าหู้ตามขั้นตอนได้

เนื้อหา
น้ำเต้าหู้ทำได้โดยนำถั่วเหลืองแช่น้ำไว้อย่างน้อย 6 ชั่วโมง  บดถั่วเหลืองให้ละเอียดกรองด้วยผ้าขาวบางแยกน้ำออก แล้วนำขึ้นตั้งไฟให้เดือด ใส่น้ำตาลทรายและรับประทานได้

ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม
ขั้นนำ
  1. ครูละเด็กร่วมท่องคำคล้องจอง "เมล็ดถั่วเหลือง" พร้อมทำท่าประกอบ แล้วสนทนาซักถามโดยใช้คำถาม ดังนี้
                          1. เด็กๆคิดว่าน้ำที่ได้จากเมล็ดถั่วเหลืองเรียกว่าน้ำอะไร
                          2. เด็กๆมีวิธีการอย่างไรที่จะได้น้ำจากเมล็ดถั่วเหลือง

ขั้นดำเนินการ
  1. ครูแนะนำอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำกิจกรรม
  2. ครูแนะนำการทำน้ำเต้าหู้ ดังนี้
                  1. เด็กๆช่วยกันล้างทำความสะอาดถั่วเหลืองให้สะอาด แล้วแช่น้ำไว้อย่างน้อย 6 ชั่วโมง
                  2. เด็กๆบดถั่วเหลืองให้ละเอียดกรองด้วยผ้าขาวบางแยกน้ำออก
                  3. เด็กๆนำขึ้นตั้งไฟ ตอนใกล้เดือดต้องคอยคนอยู่เสมอ
                  4. เด็กๆใส่น้ำตาลทรายคนให้ละลายแล้วปิดไฟ พร้อมรับประทาน
     3. เด็กๆและครูร่วมสนทนาเกี่ยวกับข้อตกลงเบื้องต้นที่ควรปฏิบัติในการทำน้ำเต้าหู้
     4. เด็กเลือกเข้ากลุ่ม กลุ่มละ 5 คน เลือกตัวแทนเด็กมารับอุปกรณ์
     5. เด็กๆแต่ละกลุ่ม ลงมือทำน้ำเต้าหู้
     6. เด็กและครูร่วมกันสนทนาซักถามเกี่ยวกับน้ำเต้าหู้
     7. เมื่อทำเสร็จเด็กๆช่วยกันล้างและเก็บอุปกรณ์ ทำความสะอาดสถานที่ให้เรียบร้อย

ขั้นสรุป
     เด็กและครูร่วมกันสรุปการทำน้ำเต้าหู้ ดังนี้
                น้ำเต้าหู้ สามารถทำได้โดยนำถั่วเหลืองแช่น้ำไว้อย่างน้อย 6 ชั่วโมง  บดถั่วเหลืองให้ละเอียดกรองด้วยผ้าขาวบางแยกน้ำออก แล้วนำขึ้นตั้งไฟให้เดือด น้ำเต้าหู้จะข้นขึ้นต้องคนเสมอ ใส่น้ำตาลทรายและรับประทานได้


สื่อที่ใช้ในการจัดกิจกรรม

  1. ส่วนผสมในการทำน้ำเต้าหู้ ได้แก่ ถั่วเหลือง น้ำเชื่อม น้ำ
  2. เครื่องครัว ได้แก่ หม้อ เตา แก้ว กระบวย จาน ช้อน เครื่องปั่น ผ้าขาวบาง
การประเมินผล
  1. สังเกตพฤติกรรมในการร่วมกิจกรรม
  2. สังเกตการแสดงความคิดเห็นและตอบคำถาม
ภาคผนวก 
คำคล้องจอง "เม็ดถั่วเหลือง"  (ไม่ทราบนามผู้แต่ง)
        ฉันเป็นเมล็ดถั่วเหลือง         แอบซ่อนกายอยู่ในฝัก
ตัวเล็กแต่มีรัก                              อยากแบ่งปันให้นานๆ
นำฉันมาบดคั้น                            เป็นน้ำนมแบ่งทุกบ้าน
หอมมันรสอมหวาน                      ยิ้มสำราญแล้วดื่มเลย



                                               


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น