การบันทึกครั้งที่ 6
วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2559
เมื่อเข้ามาในห้องเรียน อาจารย์แจกกระดาษเส้นคนละ 1 แผ่น ให้คัดพยัญชนะไทย 44 ตัว ตัวบรรจงเต็มบรรทัด / และให้ส่งของสัปดาห์ที่แล้วด้วย
ครั้งที่ 2
ครั้งที่1
- อาจารย์ให้ความรู้เกี่ยวกับการทำของเล่นวิทยาศาสตร์ และให้สรุปของเล่นวิทยาศาสตร์
- อาจารย์ถามเกี่ยวกับสาเหตุของการเกิดเงา
การเกิดเงา
เมื่อแสงตกกระทบวัตถุทึบแสง แสงไม่สามารถผ่านทะลุวัตถุ จึงทำให้เกิดเงาของวัตถุบนฉากทางด้านที่แสงไม่ได้ตกกระทบ เช่น คนเป็นวัตถุทึบแสง ดังนั้นเมื่อยืนอยู่กลางแสงแดดจะเกิดเงาบนพื้นของคนที่ยืนเพราะคนกั้นทาง เดินของแสง ทำให้แสงส่องไปไม่ถึงพื้น เงา คือ บริเวณมืดหลังวัตถุที่เกิดจากวัตถุที่เป็นตัวกลางทึบแสงมาขวางกั้นทางเดิน ของแสง แบ่งได้ 2 ชนิด คือ
1. เงามืด คือ เงาในบริเวณที่ไม่มีแสงผ่านไปถึง ทำให้บริเวณนั้นมืดสนิท
2. เงามัว คือ เงาบริเวณที่มีแสงบางส่วนผ่านไปถึง และทำให้บริเวณนั้นมืดไม่สนิท
ลักษณะการเกิดเงามืดและเงามัว
ขนาดของเงามืดและเงามัวจะขึ้นอยู่กับระยะใกล้ - ไกลของฉาก ถ้าฉากอยู่ใกล้วัตถุเงามืดจะมีขนาดใหญ่ แต่เงามัวจะมีขนาดเล็กลง ถ้าฉากอยู่ไกลจากวัตถุมากขึ้น เงามืดจะมีขนาดเล็กลงและเงามัวจะมีขนาดโตขึ้น ยกเว้นเฉพาะดวงไฟที่มีขนาดโตเท่ากับวัตถุ ซึ่งจะให้เงามืดมีขนาดโตเท่ากับขนาดของวัตถุเสมอ
- การเท่าเทียม
- เกณฑ์การประเมิน
- ข้อกำหนด
- ตัวชี้วัด
- จากนั้นเรียนเนื้อหาเรื่อง " กรอบมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย "
- สาระที่่ 1 : สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
มาตรฐาน ว 1.1 : เข้าใจพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ของโครงสร้างและหน้าที่ของระบบต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตที่ทำงานสัมพันธ์กัน มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ในการดำรงชีวิตของตนเองและดูแลสิ่งมีชีวิต
- สาระที่ 2 : ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
มาตรฐาน ว 2.1 : เข้าใจสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมกับสิ่งมีชีวิตความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่างๆ
มาตรฐาน ว 2.2 : เข้าใจความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ
- สาระที่ 3 : สารและสมบัติของสาร
มาตรฐาน ว 3.2 : เข้าใจหลักการและธรรมชาติของการเปลี่ยนสถานะของสาร การเกิดสารละลาย การเกิดปฏิกิริยาเคมี
- สาระที่ 4 : แรงและการเคลื่อนที่
มาตรฐาน ว 4.1 : เข้าใจธรรมชาติของแรงแม่เหล็กไฟฟ้า แรงโน้มถ่วงและแรงนิวเคลียร์
มาตรฐาน ว 4.2 : เข้าใจลักษณะการเคลื่อนที่แบบต่างๆ ของวัตถุในธรรมชาติ
มาตรฐาน ว 5.1 : เข้าใจความสัมพันธ์ของพลังงานธรรมชาติ
- สาระที่ 6 : กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
มาตรฐาน ว 6.1 : เข้าใจกระบวนการต่างๆ ที่เกิดขึ้นบนผิวโลกและภายในโลก ความสัมพันธ์ของกระบวนการต่างๆ
- สาระที่ 7 : ดาราศาสตร์และอวกาศ
มาตรฐาน ว 7.1 : เข้าใจวิวัฒนาการของระบบสุริยะและกาแล็กซี่ ปฏิสัมพันธ์ภายในระบบสุริยะและผลต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก
- สาระที่ 8 : ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มาตรฐาน ว 8.1 : รู้ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มีรูปแบบที่แน่นอนสามารถอธิบายและตรวจสอบและตรวจสอบภายใต้ข้อมูล
- เอาของเล่นตัวอย่างมาให้ดู
- อาจารย์นำสิ่งประดิษฐ์ต่างๆมาให้ดู
คำศัพท์
Substance = สาร
Force = แรง
Learning Standards = มาตรฐานการเรียนรู้
Space = อวกาศ
Organism = สิ่งมีชีวิต
ทักษะที่ได้รับ
- การคิด
- การตัดสินใจ
- การลงมือปฏิบัติ
- การฟัง
การนำมาประยุกต์ใช้
- สามารถนำเอาองค์ความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในอนาคต
- รู้ว่าความหลากหลายของเด็กเป็นความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก
- รู้ว่าก่อนที่จะเกิดความคล่องแคล่วต้องมีการคิดริเริ่มก่อน
บรรยากาศในห้องเรียน
การจัดการเรียนการสอน
- อาจารย์ให้ชมภาพยนตร์เกี่ยวกับเรื่องอากาศ สนุกมาก ดูแล้วเข้าใจง่าย ถ้าในบทเรียนเป็นแบบนี้ก็คงจะสนุกน่าดู
ประเมินตนเอง
- ตั้งใจเรียนและร่วมทำกิจกรรม รวมไปถึงการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
ประเมินเพื่อน
- ทุกคนตั้งใจเรียนและร่วมทำกิจกรรม รวมไปถึงการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
ประเมินอาจารย์
- แต่งกายสุภาพเรียบร้อยดี สอนเข้าใจง่าย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น