พุยพุย welcome to unchan'blog

วันอังคารที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 8




การบันทึกครั้งที่ 8
วันอังคารที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2559
               
                                            ***ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากสอบกลางภาค***




วันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2559

สรุปบทความวิทยาศาสตร์ "วิทยาศาสตร์เป็นยาขมสำหรับเด็กๆ จริงหรือ"   
เรื่อง แนวทางสอนคิด เติม "วิทย์" ให้เด็กอนุบาล

ผู้แต่ง  นางปิยะดา เยาวรัตน์
                   วิทยาศาสตร์เป็นยาขมสำหรับเด็ก ๆ จริงหรือ ? ถ้าเด็ก ๆ เรียนวิทยาศาสตร์ตั้งแต่ชั้นอนุบาลจะยากเกินไปไหม ? ควรจะให้เด็ก ๆ     อนุบาลเรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างไร ? คำถามเหล่านี้ต่างพ่อแม่ผู้ปกครอง และแม้แต่คุณครูเองก็ยังสงสัยอยู่ แท้จริงแล้ววิทยาศาสตร์คือความพยายามของมนุษย์ที่จะเรียนรู้และทำ ความเข้าใจกับสิ่งรอบตัวและตัวตนของตนเอง ซึ่งความพยายามเช่นนี้จะติดตัวกับมนุษย์เรามาตั้งแต่แรกเกิด เห็นได้จากธรรมชาติของเด็กที่มีความอยากรู้อยากเห็น ช่างสังเกตและคอยซักถามเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ที่พวกเขาเจอ และบางครั้งก็เป็นคำถามที่ยากเกินกว่าที่ผู้ใหญ่จะให้คำตอบ ผู้ใหญ่ หลายคนที่ไม่เข้าใจในธรรมชาติความเป็นนักวิทยาศาสตร์ตัวน้อยๆ ของเด็ก จึงปิดกั้นโอกาสทางการเรียนรู้ของพวกเขาโดยการไม่ให้ความสนใจกับคำถามและการ ค้นพบแบบเด็กๆ หรือไม่ได้จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่จะส่งเสริมและต่อยอดทักษะและแนวคิด ที่ถูกต้องให้กับเด็กอย่างเหมาะสม
ซึ่งนั่นทำให้การพัฒนาทักษะของเด็กต้องขาดตอนไปอย่างน่าเสียดาย      
                   ดร. วรนาท รักสกุลไทย นักการศึกษาปฐมวัย ผู้อำนวยการโรงเรียนเกษมพิทยา (ฝ่ายอนุบาล) กล่าวว่า "เราคงทราบดีกันอยู่แล้วว่าวิทยาศาสตร์มีความสำคัญเพียงใด แต่สำหรับเด็กอนุบาล แนวทางการสอนต่างหากที่จะทำให้เด็กสนใจ สิ่งสำคัญที่สุดคือครูต้องแม่นยำในพัฒนาการของเด็กเพื่อที่จะสามารถจัดการเรียนรู้ได้สอดคล้องกับความสามารถของเด็ก รวมถึงต้องอย่าลืมเรื่องจินตนาการที่มีอยู่สูงในเด็กวัยนี้"  ทั้ง นี้ การส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยในด้านวิทยาศาสตร์นั้น อาจไม่จำเป็นต้องแยกออกมาสอนเป็นวิชาวิทยาศาสตร์ และอาจไม่ต้องกล่าวคำว่าวิทยาศาสตร์เมื่อให้เด็กทำกิจกรรมเลยด้วยซ้ำ เพียงแต่ครูปฐมวัยควรจะตระหนักรู้ว่ากิจกรรมที่จัดให้กับเด็กในแต่ละช่วง เวลานั้น
เป็นการส่งเสริมทักษะและแนวคิดทางวิทยาศาสตร์อะไรให้กับเด็กๆ และควรจะจัดกิจกรรมอย่างไรเพื่อจะสามารถตอบสนองและต่อยอดธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กได้อย่างเป็นระบบ
                 ดร.เทพกัญญา พรหมขัติแก้ว นักวิชาการสาขาวิทยาศาสตร์ประถมศึกษา สสวท. กล่าวถึงแนวทางในการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กอนุบาลว่า "แนวทางของ สสวท.คือต้องการให้คุณครูบูรณาการวิทยาศาสตร์เข้าไปในการเรียนการสอนปกติของ เด็ก ๆ ซึ่งครูและนักการศึกษาปฐมวัยอาจจะมีคำถามว่า  จะต้องแยกวิทยาศาสตร์ออกมาเป็นอีกวิชาหนึ่งไหม จริง ๆ คือไม่ต้อง เพราะการเรียนรู้ในระดับปฐมวัยจะเน้นการเรียนรู้แบบองค์รวม ไม่ต้องแยกเป็นวิชา เพราะวิทยาศาสตร์คือกระบวนการการเรียนรู้ อยากให้คุณครูมองว่า มันคือการเรียนรู้ธรรมชาติรอบตัวของเด็กๆ"
                " สำหรับปัญหาที่พบในขณะนี้ก็คือ บางครั้งเด็กมีคำถาม แล้วครูตอบไม่ได้ เพราะเราก็ต้องเข้าใจครูปฐมวัยด้วยว่า อาจไม่มีพื้นฐานในสายวิทย์มากนัก 
                ดังนั้นเมื่อครูเกิดตอบคำถามเด็กไม่ได้ก็จะเกิดหลายกรณีตามมา เช่น ครูบอกเด็กว่า เธออย่าถามเลย เด็กก็ถูกปิดกั้นการเรียนรู้ไปเสียอีก กับอีกแบบ
                 คือ ครูตอบคำถามเด็ก ซึ่งกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ควรจะเป็นการเรียนรู้ไปด้วยกัน ให้เด็กหาคำตอบด้วยตัวเอง ไม่ใช่รอให้ครูหามาป้อน และถ้าครูตอบผิดเด็กก็อาจจำไปผิด ๆ ได้"     
               นอกจากนี้ ดร.เทพกัญญา ยังได้ให้แนวทางในการ "สืบเสาะความรู้ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก" อันประกอบแนวทางปฏิบัติ 5 ข้อดังนี้ 

  1. ตั้งคำถามที่เด็กสามารถตรวจสอบได้ด้วยตัวเอง เช่น คำถามเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว หรือโลกของเรา
  2. ออกไปหาคำตอบด้วยกัน เนื่องจากคำถามในระดับเด็กอนุบาลมักจะเปิดกว้าง ดังนั้นการค้นหาคำตอบอาจมีครูคอยช่วยจัดประสบการณ์ให้เด็กตามที่เขาตั้งขึ้น
  3. เมื่อขั้นสองสำเร็จ เด็กจะเอาสิ่งที่เขาค้นพบมาไปตอบคำถามของเขาเอง ในขั้นนี้คุณครูอาจช่วยเสริมในแง่ของความครบถ้วนสมบูรณ์หรือในด้านของเหตุและผล
  4. นำเสนอสิ่งที่เขาสำรวจตรวจสอบมาแล้วให้กับเพื่อน ๆ
  5. การนำสิ่งที่เด็กค้นพบคำตอบนั้นไปเชื่อมโยงกับคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์
       สำหรับข้อ 5 นั้น ดร.เทพกัญญากล่าวว่า ในระดับเด็กอนุบาลอาจยังไม่สามารถก้าวไปถึงจุดนั้นได้ อาจต้องเป็นเด็กชั้นประถมศึกษาขึ้นไป
     แต่คุณครูก็ไม่ควรละเลย หากมีเด็กอนุบาลบางคนเข้าใจ คุณครูก็อาจช่วยให้เขาสามารถอธิบายได้แบบวิทยาศาสตร์ แต่ถ้าไม่ถึงก็ไม่จำเป็นต้องเคี่ยวเข็ญเด็ก ๆ
    แต่อย่างใดไม่ เพียงแต่คุณครูและโรงเรียนที่จะเป็นผู้ส่งเสริมทักษะด้านวิทยาศาสตร์ให้กับ เด็ก ๆ แต่พ่อและแม่เองนั้นก็มีบทบาทมากเช่นกัน แนวทางดี ๆ ข้างต้น

    อาจเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยให้เด็ก ๆ และครอบครัวในยุคต่อไปเข้าใจ และรักใน "วิทยาศาสตร์" ได้มากขึ้นก็เป็นได้ค่ะ


สรุปความรู้จากงานวิจัย

ชื่องานวิจัย
การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยด้วยการจัดกิจกรรมการทำเครื่องดื่มสมุนไพร

ปริญญานิพนธ์ของ
วณิชชา สิทธิพล

ความมุ่งหมายของการวิจัย
  1. เพื่อศึกษาระดับของทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ทั้งโดยรวมและราย ก่อนและหลังการทดลองการจัดกิจกรรม
  2. เพื่อเปรียบเทียบระดับของทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ทั้งโดยรวมและราย ก่อนและหลังการทดลองการจัดกิจกรรม
ความสำคัญของการศึกษาค้นคว้า
ผลของการวิจัยครั้งนี้สามารถเป็นแนวทางให้กับครูและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาปฐมวัยได้มีแนวทางในการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยเพิ่มขึ้นอีกแนวทางหนึ่ง ซึ่งกิจกรรมการทำเครื่องดื่มสมุนไพรเป็นกิจกรรมที่ให้เด็กปฐมวัยเรียนรู้จากการทำเครื่องดื่มสมุนไพร ทำให้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ให้เหมาะสมและเกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย โดยวิธีการอท่นในลักษณะเดียวกันได้กว้างขวางมากขึ้น

ขอบเขตของการวิจัย
    ประชาการที่ใช้ในการวิจัย
กลุ่มประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นเด็กปฐมวัย ชาย-หญิง อายุระหว่าง 4-5 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556  ของโรงเรียนวัดชำป่างาม (สายรัฐประชาสรรค์) อำเภอสนามชัยเขต  จังหวะฉะเชิงเทรา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2 จำนวน 50 คน

นิยามศัพท์เฉพาะ
  1. เด็กปฐมวัย หมายถึง เด็กนักเรียน ชาย-หญิง อายุระหว่าง 4-5 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 1ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556  ของโรงเรียนวัดชำป่างาม (สายรัฐประชาสรรค์) อำเภอสนามชัยเขต  จังหวะฉะเชิงเทรา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2 
  2. ทักษพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ หมายถึง พฤติกรรมที่เด็กแสดงออกถึงความสามารถในการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลที่จะนำไปใช้ในทางวิทยาศาสตร์หรือกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ทดสอบได้ด้วยแบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นประกอบด้วย 4 ทักษะ คือ
                                                1. การสังเกต
                                                2. การจำแนก
                                                3. การวัด
                                                4. การสื่อความหมายข้อมูล

     3.  เครื่องดื่มสมุนไพร  หมายถึง  น้ำดื่มที่ได้จากการใช้ส่วนประกอบต่างๆของพืชผักผลไม้ ธัญพืชหรือสมุนไพรต่างๆ ที่ส่งผลต่อสุขภาพ อันหมายถึงทั้งการส่งเสริมสุขภาพและการรักษาโรค นำมาผ่านกระบวนการต่างๆ เช่น คั้นสด ต้ม ปั่น เป็นต้น เนื่องจากงานวิจัยในครั้งนี้ทำการทดลองกับเด็กเล็กจึงเน้นการใช้สมุนไพรประกอบเป็นเครื่องดื่ม เพื่อส่งเสริมสุขภาพทางกาย
แผนการจัดกิจกรรมการทำเครื่องดื่มสมุนไพร
น้ำเต้าหู้
จุดประสงค์
  1. เพื่อพัฒนาทักษะทางวิทยาศาสตร์
  • การสังเกต สามารถบอกการเปลี่ยนแปลงของถั่วเหลืองที่แช่น้ำได้
  • การจำแนก สามารถบอกความแตกต่างของน้ำเต้าหู้ที่ต้มแล้วและยังไม่ได้ต้ม
  • การวัด สามารถตวงถั่วเหลืองที่แช่น้ำแล้วใส่เครื่องปั่นได้
  • การสื่อความหมายข้อมูล สามารถร่วมสนมนาและแสดงความคิดเห็นกับเพื่อนและครูได้
      2. เพื่อให้เด็กได้รู้จักวัสดุอุปกรณ์และส่วนผสมในการทำน้ำเต้าหู้
      3. เพื่อให้เด็กสามารถทำน้ำเต้าหู้ตามขั้นตอนได้

เนื้อหา
น้ำเต้าหู้ทำได้โดยนำถั่วเหลืองแช่น้ำไว้อย่างน้อย 6 ชั่วโมง  บดถั่วเหลืองให้ละเอียดกรองด้วยผ้าขาวบางแยกน้ำออก แล้วนำขึ้นตั้งไฟให้เดือด ใส่น้ำตาลทรายและรับประทานได้

ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม
ขั้นนำ
  1. ครูละเด็กร่วมท่องคำคล้องจอง "เมล็ดถั่วเหลือง" พร้อมทำท่าประกอบ แล้วสนทนาซักถามโดยใช้คำถาม ดังนี้
                          1. เด็กๆคิดว่าน้ำที่ได้จากเมล็ดถั่วเหลืองเรียกว่าน้ำอะไร
                          2. เด็กๆมีวิธีการอย่างไรที่จะได้น้ำจากเมล็ดถั่วเหลือง

ขั้นดำเนินการ
  1. ครูแนะนำอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำกิจกรรม
  2. ครูแนะนำการทำน้ำเต้าหู้ ดังนี้
                  1. เด็กๆช่วยกันล้างทำความสะอาดถั่วเหลืองให้สะอาด แล้วแช่น้ำไว้อย่างน้อย 6 ชั่วโมง
                  2. เด็กๆบดถั่วเหลืองให้ละเอียดกรองด้วยผ้าขาวบางแยกน้ำออก
                  3. เด็กๆนำขึ้นตั้งไฟ ตอนใกล้เดือดต้องคอยคนอยู่เสมอ
                  4. เด็กๆใส่น้ำตาลทรายคนให้ละลายแล้วปิดไฟ พร้อมรับประทาน
     3. เด็กๆและครูร่วมสนทนาเกี่ยวกับข้อตกลงเบื้องต้นที่ควรปฏิบัติในการทำน้ำเต้าหู้
     4. เด็กเลือกเข้ากลุ่ม กลุ่มละ 5 คน เลือกตัวแทนเด็กมารับอุปกรณ์
     5. เด็กๆแต่ละกลุ่ม ลงมือทำน้ำเต้าหู้
     6. เด็กและครูร่วมกันสนทนาซักถามเกี่ยวกับน้ำเต้าหู้
     7. เมื่อทำเสร็จเด็กๆช่วยกันล้างและเก็บอุปกรณ์ ทำความสะอาดสถานที่ให้เรียบร้อย

ขั้นสรุป
     เด็กและครูร่วมกันสรุปการทำน้ำเต้าหู้ ดังนี้
                น้ำเต้าหู้ สามารถทำได้โดยนำถั่วเหลืองแช่น้ำไว้อย่างน้อย 6 ชั่วโมง  บดถั่วเหลืองให้ละเอียดกรองด้วยผ้าขาวบางแยกน้ำออก แล้วนำขึ้นตั้งไฟให้เดือด น้ำเต้าหู้จะข้นขึ้นต้องคนเสมอ ใส่น้ำตาลทรายและรับประทานได้


สื่อที่ใช้ในการจัดกิจกรรม

  1. ส่วนผสมในการทำน้ำเต้าหู้ ได้แก่ ถั่วเหลือง น้ำเชื่อม น้ำ
  2. เครื่องครัว ได้แก่ หม้อ เตา แก้ว กระบวย จาน ช้อน เครื่องปั่น ผ้าขาวบาง
การประเมินผล
  1. สังเกตพฤติกรรมในการร่วมกิจกรรม
  2. สังเกตการแสดงความคิดเห็นและตอบคำถาม
ภาคผนวก 
คำคล้องจอง "เม็ดถั่วเหลือง"  (ไม่ทราบนามผู้แต่ง)
        ฉันเป็นเมล็ดถั่วเหลือง         แอบซ่อนกายอยู่ในฝัก
ตัวเล็กแต่มีรัก                              อยากแบ่งปันให้นานๆ
นำฉันมาบดคั้น                            เป็นน้ำนมแบ่งทุกบ้าน
หอมมันรสอมหวาน                      ยิ้มสำราญแล้วดื่มเลย



                                               


วันเสาร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2559

ของเล่นวิทยาศาสตร์

รถเคลื่อนที่ด้วยลูกโป่ง



อุปกรณ์ที่ใช้ในการประดิษฐ์
  1.       ลูกโป่ง 
  2.       ขวดน้ำ 
  3.      ล้อกระดุม 
  4.      หลอด
  5.      ตะเกียบ
  6.      ยางรัด
  7.      ที่เจาะรู


ขั้นตอนการทำมีดังนี้
  1.         เจาะรูที่ขวด 4 รู เอาตะเกียบใส่ตรงรูที่เจาะ แล้วใส่ล้อกระดุมทั้ง 4 ล้อ
  2.         เสียบหลอดเข้าไปในลูกโป่ง  รัดปากลูกโป่งด้วยยางรัด
  3.         เจาะรูด้านบนขวดตรงกลาง แล้วเอาหลอดที่เราเสียบเข้าลูกโป่งแล้ว เสียบเข้าไปในขวด
  4.         ปิดฝาขวดน้ำเพื่อความเรียบร้อย
  5.         ตกแต่งให้สวยงาม
วิธีการเล่น
เวลาจะเล่น ให้เป่าลมใส่เข้าไปในลูกโป่ง จากนั้นลองปล่อยรถลง รถจะเคลื่อนที่ไปเอง


หลักการทางวิทยาศาสตร์
  1. เคลื่อนที่โดยแรงดันจากอากาศที่เราเป่าใส่ลูกโป่ง
  2. ยิ่งเป่าลูกโป่งมากเท่าไหร่ รถของเราก็จะยิ่งเคลื่อนที่ได้เร็วมากขึ้น



วาดรูปสร้างสรรค์
1. ภาพวาดแบบขยับได้


จากภาพจะเห็นได้ว่าภาพแรกมีแอ๊บเปิ้ล 1 ลูก ที่ไม่มีอะไร
ภาพที่สองจะเห็นความเปลี่ยนแปลงเนื่องจากมีหนอนมากัดกินแอ๊บเปิ้ล


2. ภาพวาดแบบหมุนได้


จากภาพจะเห็นว่าภาพแรกมีกบนั่งอยู่ 1 ตัว
ภาพที่สองมีใบบัวและดอกบัว
เมื่อหมุนไปหมุนมาจะเห็นกบนั่งอยู่บนใบบัว



วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 7




การบันทึกครั้งที่ 7
วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2559

  • เมื่อเข้ามาในห้องเรียน อาจารย์แจกกระดาษเส้นคนละ 1 แผ่น ให้คัดพยัญชนะไทย 44 ตัว ตัวบรรจงเต็มบรรทัด ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 3






  • จากนั้นเพื่อนๆนำเสนอของเล่น
  1. ว่าว
  2. รถลูกโป่ง
  3. หลอดเลี้ยงลูกบอล
  4. แตร่
  5. ปี่หลอดหรรษา
  6. เครื่องดูดจอมกวน
  7. ไก่กระต๊าก
  8. ทะเลในขวด
  9. ที่ยิงบอลไม้ไอติม
  10. พายุโทนาโด
  11. รถของเล่น
  12. ร่มชูชีพ
  13. เหวี่ยงมหาสนุก
  14. รถแม่เหล็ก
  15. ลูกข่าง
  16. กระดานลูกแก้ว
  17. ธนูจากไม้ไอติม
  18. ปลาว่ายน้ำ
  19. แว่นสามมิติ
  20. นักดำน้ำจากหลอดกาแฟ
  • จากนั้นอาจารย์แจกกระดาษให้คนละ 1 แผ่น แล้วให้นักศึกษาเอามือทาบลงไปแล้ววาดตามรูปมือ จากนั้นใช้ปากกาเมจิกสีต่างๆมาวาดตามโครงเส้นรูปมือของเรา  แล้วใช้สีมาวาดเป็นเส้นทับกัน ดังรูปภาพนี้

  • กิจกรรมต่อมาอาจารย์ทำการทดลองวิทยาศาสตร์ในเรื่องการไหลของน้ำที่ไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ จากภาพคือการทดลองการไหลของน้ำ





 มีวิดีโอมาให้ชมด้วยนะค้าาาาา



  • จากนั้นอาจารย์แจกกระดาษ a4 ให้ 1 แผ่น แบ่งกัน 4 คน เมื่อแบ่งได้แล้วให้พับเหมือนเวลาจะพับแล้วตัดเป็นรูปดอกไม้ เมื่อตัดออกมาได้เป็นดอกไม้แล้ว ให้วาดตกแต่งดอกไม้ให้สวยงาม จากนั้นให้เอาดอกไม้ของเราพับกลีบทั้ง 4 กลีบ เบาๆ ไม่ต้องแน่นมากจนเกินไป 
  • แล้วเอาดอกไม้ของเรา ไปลอยน้ำ 
  • ผลการทดลองพบว่าดอกไม้ของเราค่อยๆบานออกอยากสวยงาม

สาเหตุ  เกิดมาจากน้ำเข้าไปซึมซับตามพื้นที่ว่างของกระดาษทำให้กระดาษอ่อนแล้วเกิดการคลี่ออกตามที่เราได้ทดลองทำ
<<<<<<<มาดูคลิปวิดีโอกันดีกว่าค้า



  • จากนั้นเพื่อนๆนำเสนอของเล่น เป็นกลุ่ม
กลุ่มที่ 1 กล่องพิศวง



กลุ่มที่ 2  กล้องเพอริสโคป



กลุ่มที่ 3 กล้องสะท้อน



กลุ่มที่ 4 ตกสัตว์ทะเล




กลุ่มที่ 5 ไฟฉายหลากสี




กลุ่มที่ 6 ลูกกลิ้งหกคเมน



คำศัพท์ 
vibration   =   การสั่น
top   =  ลูกข่าง
Water level   = ระดับน้ำ
objec  = วัตถุ
Water features  =  คุณสมบัติของน้ำ
Center of gravity   = จุดศูนย์ถ่วง

ทักษะที่ได้รับ
  • การคิด
  • การตัดสินใจ
  • การลงมือปฏิบัติ
  • การฟัง
การนำมาประยุกต์ใช้
  • สามารถนำเอาองค์ความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในอนาคต
  • รู้ว่าความหลากหลายของเด็กเป็นความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก
  • รู้ว่าการออกแบบของเล่นที่เหมาะสมกับพัฒนาการ และการทดลองที่ง่ายๆเด็กสามารถทำและเรียนรู้ได้ด้วยตนเองและสามารถนำไป ต่อยอดเป็นความรู้ใหม่ได้

บรรยากาศในห้องเรียน
  • อากาศเย็นถึงหนาวมาก การเรียนการสอนวันนี้สนุกสนานมาก มีกิจกรรมให้ทำมากมาย

การจัดการเรียนการสอน
  • จัดให้มีการทดลองและการนำเสนองานทั้งเดี่ยวและกลุ่ม ทำให้มีความคิดสร้างสรรค์และให้นักศึกษาได้คิดวิเคราะห์
ประเมินตนเอง
  • ตั้งใจเรียนและร่วมทำกิจกรรม รวมไปถึงการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
ประเมินเพื่อน
  • ทุกคนตั้งใจเรียนและร่วมทำกิจกรรม รวมไปถึงการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ช่วยกันตอบคำถามอาจารย์
ประเมินอาจารย์
  • แต่งกายสุภาพเรียบร้อยดี สอนเข้าใจง่าย เสีงดังชัดเจน



วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 6




การบันทึกครั้งที่ 6
วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2559
เมื่อเข้ามาในห้องเรียน อาจารย์แจกกระดาษเส้นคนละ 1 แผ่น ให้คัดพยัญชนะไทย 44 ตัว ตัวบรรจงเต็มบรรทัด / และให้ส่งของสัปดาห์ที่แล้วด้วย
ครั้งที่ 2

ครั้งที่1
  • อาจารย์ให้ความรู้เกี่ยวกับการทำของเล่นวิทยาศาสตร์ และให้สรุปของเล่นวิทยาศาสตร์

 

  • อาจารย์ถามเกี่ยวกับสาเหตุของการเกิดเงา
การเกิดเงา
เมื่อแสงตกกระทบวัตถุทึบแสง แสงไม่สามารถผ่านทะลุวัตถุ จึงทำให้เกิดเงาของวัตถุบนฉากทางด้านที่แสงไม่ได้ตกกระทบ เช่น คนเป็นวัตถุทึบแสง ดังนั้นเมื่อยืนอยู่กลางแสงแดดจะเกิดเงาบนพื้นของคนที่ยืนเพราะคนกั้นทาง เดินของแสง ทำให้แสงส่องไปไม่ถึงพื้น เงา คือ บริเวณมืดหลังวัตถุที่เกิดจากวัตถุที่เป็นตัวกลางทึบแสงมาขวางกั้นทางเดิน ของแสง แบ่งได้ 2 ชนิด คือ 
1. เงามืด คือ เงาในบริเวณที่ไม่มีแสงผ่านไปถึง ทำให้บริเวณนั้นมืดสนิท 
2. เงามัว คือ เงาบริเวณที่มีแสงบางส่วนผ่านไปถึง และทำให้บริเวณนั้นมืดไม่สนิท
ลักษณะการเกิดเงามืดและเงามัว
ขนาดของเงามืดและเงามัวจะขึ้นอยู่กับระยะใกล้ - ไกลของฉาก ถ้าฉากอยู่ใกล้วัตถุเงามืดจะมีขนาดใหญ่ แต่เงามัวจะมีขนาดเล็กลง ถ้าฉากอยู่ไกลจากวัตถุมากขึ้น เงามืดจะมีขนาดเล็กลงและเงามัวจะมีขนาดโตขึ้น ยกเว้นเฉพาะดวงไฟที่มีขนาดโตเท่ากับวัตถุ ซึ่งจะให้เงามืดมีขนาดโตเท่ากับขนาดของวัตถุเสมอ

  • มาตรฐานการศึกษาปฐมวัย
  1. การเท่าเทียม
  2. เกณฑ์การประเมิน
  3. ข้อกำหนด
  4. ตัวชี้วัด
  • จากนั้นเรียนเนื้อหาเรื่อง " กรอบมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย "
  • สาระที่่ 1 : สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
มาตรฐาน ว 1.1 : เข้าใจพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ของโครงสร้างและหน้าที่ของระบบต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตที่ทำงานสัมพันธ์กัน มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ในการดำรงชีวิตของตนเองและดูแลสิ่งมีชีวิต
  • สาระที่ 2 : ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
มาตรฐาน ว 2.1 : เข้าใจสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมกับสิ่งมีชีวิตความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่างๆ
มาตรฐาน ว 2.2 : เข้าใจความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ
  • สาระที่ 3 : สารและสมบัติของสาร
มาตรฐาน ว 3.2 : เข้าใจหลักการและธรรมชาติของการเปลี่ยนสถานะของสาร การเกิดสารละลาย การเกิดปฏิกิริยาเคมี
  • สาระที่ 4 : แรงและการเคลื่อนที่ 
มาตรฐาน ว 4.1 : เข้าใจธรรมชาติของแรงแม่เหล็กไฟฟ้า แรงโน้มถ่วงและแรงนิวเคลียร์
มาตรฐาน ว 4.2 : เข้าใจลักษณะการเคลื่อนที่แบบต่างๆ ของวัตถุในธรรมชาติ
  • สาระที่ 5 : พลังงาน
มาตรฐาน ว 5.1 : เข้าใจความสัมพันธ์ของพลังงานธรรมชาติ
  • สาระที่ 6 : กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
มาตรฐาน ว 6.1 : เข้าใจกระบวนการต่างๆ ที่เกิดขึ้นบนผิวโลกและภายในโลก ความสัมพันธ์ของกระบวนการต่างๆ
  • สาระที่ 7 : ดาราศาสตร์และอวกาศ
มาตรฐาน ว 7.1 : เข้าใจวิวัฒนาการของระบบสุริยะและกาแล็กซี่ ปฏิสัมพันธ์ภายในระบบสุริยะและผลต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก
  • สาระที่ 8 : ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มาตรฐาน ว 8.1 : รู้ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มีรูปแบบที่แน่นอนสามารถอธิบายและตรวจสอบและตรวจสอบภายใต้ข้อมูล
  • เอาของเล่นตัวอย่างมาให้ดู
  • อาจารย์นำสิ่งประดิษฐ์ต่างๆมาให้ดู














คำศัพท์ 
Substance = สาร                          
Force = แรง
Learning Standards = มาตรฐานการเรียนรู้ 
Space = อวกาศ
Organism = สิ่งมีชีวิต   


ทักษะที่ได้รับ
  • การคิด
  • การตัดสินใจ
  • การลงมือปฏิบัติ
  • การฟัง
การนำมาประยุกต์ใช้
  • สามารถนำเอาองค์ความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในอนาคต
  • รู้ว่าความหลากหลายของเด็กเป็นความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก
  • รู้ว่าก่อนที่จะเกิดความคล่องแคล่วต้องมีการคิดริเริ่มก่อน

บรรยากาศในห้องเรียน
  • อากาศเย็นถึงหนาวมาก

การจัดการเรียนการสอน
  • อาจารย์ให้ชมภาพยนตร์เกี่ยวกับเรื่องอากาศ สนุกมาก ดูแล้วเข้าใจง่าย ถ้าในบทเรียนเป็นแบบนี้ก็คงจะสนุกน่าดู
ประเมินตนเอง
  • ตั้งใจเรียนและร่วมทำกิจกรรม รวมไปถึงการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
ประเมินเพื่อน
  • ทุกคนตั้งใจเรียนและร่วมทำกิจกรรม รวมไปถึงการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
ประเมินอาจารย์
  • แต่งกายสุภาพเรียบร้อยดี สอนเข้าใจง่าย