พุยพุย welcome to unchan'blog

วันอังคารที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2559

หน่วย  ดอกไม้
รายบุคคล














รายกลุ่ม



การบันทึกครั้งที่ 12




การบันทึกครั้งที่ 12
วันอังคารที่ 25 ตุลาคม พ.ศ.2559



  • เมื่อเข้ามาในห้องในกิจกรรมการเรียนการสอนวันนี้ อาจารย์ให้นักศึกษานำเสนอ Mind Map ของแต่ละกลุ่ม ที่ได้นำไปปรับปรุงแก้ไขมาแล้ว เพื่อนำเสนอหน้าชั้นเรียน พร้อมทั้งอาจารย์ได้ให้คำแนะนำเพิ่มเติ่มเกี่ยวกับองค์ประกอบของการทำ Mind Map และให้นักศึกษาแต่ละคนเขียนใส่กระดาษ A4 เพื่อส่งในสัปดาห์หน้า

กลุ่มที่ 1 หน่วยต้นไม้


กลุ่มที่ 2 หน่วยผลไม้


กลุ่มที่ 3 หน่วยปลา





กลุ่มที่ 4 หน่วยยานพาหนะ




กลุ่มที่ 5 หน่วยไข่


กลุ่มที่ 6 หน่วยอากาศรอบตัวฉัน


กลุ่มที่ 7 หน่วยดอกไม้


  • ต่อมาอาจารย์สอนนักศึกษาเชื่อมโยงหน่วยของตนเองกับเรื่อง มาตรฐานการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ 
สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
    มาตรฐาน ว 1. 1 เข้าใจหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ของโครงสร้าง และหน้าที่ของระบบ ต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตที่ทำงานสัมพันธ์กัน มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ในการดำรงชีวิตของตนเองและดูแลสิ่ง มีชีวิต

    มาตรฐาน ว 1.2 เข้าใจกระบวนการและความสำคัญของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ความหลากหลายทางชีวภาพ การใช้เทคโนโลยีชีวภาพที่มีผลกระทบต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสาร สิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

    สาระที่ 2 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม

    มาตรฐาน ว 2. 1 เข้าใจสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมกับสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ในระบบนิเวศ มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ ประโยชน์

    มาตรฐาน ว 2.2 เข้าใจความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติในระดับท้องถิ่น ประเทศ และโลกนำความรู้ไปใช้ในในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้อง ถิ่นอย่างยั่งยืน

    สาระที่ 3 สารและสมบัติของสาร

    มาตรฐาน ว 3. 1 เข้าใจสมบัติของสาร ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสารกับโครงสร้างและแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ นำความรู้ไปใช้ประโยชน์

    มาตรฐาน ว 3.2 เข้าใจหลักการและธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงสถานะของสาร การเกิดสารละลาย การเกิดปฏิกิริยา มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

    สาระที่ 4 แรงและการเคลื่อนที่

    มาตรฐาน ว 4. 1 เข้าใจธรรมชาติของแรงแม่เหล็กไฟฟ้า แรงโน้มถ่วง และแรงนิวเคลียร์ มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์อย่างถูกต้องและมีคุณธรรม

    มาตรฐาน ว 4.2 เข้าใจลักษณะการเคลื่อนที่แบบต่างๆ ของวัตถุในธรรมชาติมีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

    สาระที่ 5 พลังงาน

    มาตรฐาน ว 5. 1 เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานกับการดำรงชีวิต การเปลี่ยนรูปพลังงาน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสารและพลังงาน ผลของการใช้พลังงานต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม มีกระบวน การสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และ นำความรู้ไปใช้ประโยชน์

    สาระที่ 6 กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
    มาตรฐาน ว 6. 1 เข้าใจกระบวนการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนผิวโลกและภายในโลก ความสัมพันธ์ของกระบวนการต่าง ๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ภูมิประเทศ และสัณฐานของโลก มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

    สาระที่ 7 ดาราศาสตร์และอวกาศ

    มาตรฐาน ว 7. 1 เข้าใจวิวัฒนาการของระบบสุริยะ กาแล็กซีและเอกภพการปฏิสัมพันธ์ภายในระบบสุริยะและผลต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ การสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

    มาตรฐาน ว 7.2 เข้าใจความสำคัญของเทคโนโลยีอวกาศที่นำมาใช้ในการสำรวจอวกาศและทรัพยากร ธรรมชาติ ด้านการเกษตรและการสื่อสาร มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์อย่างมีคุณธรรมต่อชีวิตและ สิ่งแวดล้อม

    สาระที่ 8 ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

    มาตรฐาน ว 8. 1 ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ในการสืบเสาะหาความรู้ การแก้ปัญหา รู้ว่าปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มีรูปแบบที่แน่นอน สามารถอธิบายและตรวจสอบได้ ภายใต้ข้อมูลและเครื่องมือที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้นๆ เข้าใจว่า วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อม มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน



    คำศัพท์
    1. Unit = หน่วย
    2. Organism  =  สิ่งมีชีวิต
    3. Substance = สาระ
    4. Connect  = เชื่อมโยง
    5. The Process = กระบวนการ
    ทักษะที่ได้รับ
    • การคิด
    • การตัดสินใจ
    • การฟัง
    • การปรับ
    การนำมาประยุกต์ใช้
    • สามารถนำเอาองค์ความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในอนาคต
    • สามารถที่จะทราบข้อผิดพลาดแล้วนำไปปรับปรุงแก้ไขได้ถูกต้องกว่าเดิม

    บรรยากาศในห้องเรียน
    • อากาศเย็น ถึงหนาวมาก
    • ทุกคนดูจะหิวข้าวกัน เพราะอาจจะเป็นเพราะตื่นสาย

    การจัดการเรียนการสอน
    • ระดมความคิดต่างๆให้งานออกมาดี ในการทำงานเป็นกลุ่มและเดี่ยว
    • จัดให้นักศึกษาได้ฝึกวางแผนในการที่จะเริ่มทำกิจกรรมต่างๆ
    ประเมินตนเอง
    • ตั้งใจเรียนและร่วมทำกิจกรรม รวมไปถึงการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น 
    • ตั้งใจฟังเพื่อนๆนำเสนอผลงาน
    ประเมินเพื่อน
    • ทุกคนตั้งใจเรียนและร่วมทำกิจกรรม รวมไปถึงการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ช่วยกันตอบคำถามอาจารย์
    • เพื่อนมีความคิดที่แตกต่างกันไป ทำให้ได้ความรู้เพิ่ม
    • เพื่อนๆทุกคนตั้งใจฟังเวลามีกลุ่มอื่นออกไปนำเสนอ
    ประเมินอาจารย์
    • แต่งกายสุภาพเรียบร้อยดี สอนเข้าใจง่าย เสีงดังชัดเจน
    • มีกิจกรรมมาให้นักศึกษาทำบ่อยๆ



    วันอังคารที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2559

    การบันทึกครั้งที่ 11




    การบันทึกครั้งที่ 11
    วันอังคารที่ 18 ตุลาคม พ.ศ.2559


    • การเรียนการสอนวันนี้เริ่มต้นด้วยการทบทวนบทเรียนที่ผ่านมา ตั้งแต่เริ่มเรียนจนถึงการเรียนการสอนในสัปดาห์นี้ โดยยึดหลักการสอนว่า การเรียนรู้เกิดขึ้นจากการลงมือกระทำและการมีปฏิสัมพันธ์กับธรรมชาติ
    • จากนั้นอาจารย์ให้นักศึกษาส่งของเล่นงานกลุ่มที่เหลือพร้อมให้คำแนะนำเพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไขและพร้อมบอกถึงหลักการทางวิทยาศาสตร์

    รางลาดเอียง

    เป็นการไหลลงตามแรงโน้มถ่วงของโลก หากลาดเอียงมากลูกแก้วก็จะไหลรวดเร็วมากขึ้น  อาจารย์แนะนำว่า รางลาดเอียงสามารถเปลี่ยนทิศทางการลาดเอียงเพื่อให้เด็กเกิดความสนใจในของเล่นชิ้นนี้มากขึ้น



    • การสอนแบบบรูณาการ คือ การเชื่อมโยงหาความสัมพันธ์ของหลายๆวิชาเข้าด้วยกัน โดยผ่านหน่วยที่เราเลือก
    • กิจกรรมต่อมา อาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน เพื่อคิดหน่วยการสอนที่สอดคล้องกับสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัยเพื่อทำ Mind Map ในหน่วยที่เราเลือก
    • กลุ่มของดิฉันเลือกที่จะทำหน่วย  "ดอกไม้"  
    ภาพกิจกรรม




    กลุ่มของดิฉันได้ระดมความคิดออกมา ดังรูปนี้

    {ดูแล้วต้องแก้ไขอีกเยอะเลย}
    •  เมื่อทำเสร็จเรียบร้อย แล้วเอากระดาษชาร์ตไปแปะที่หน้าห้อง และอาจารย์ก็ให้คำแนะนำของการทำ Mind Map ของแต่ละกลุ่มเพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไข ต่อไป


    มาดูกันสิว่าแต่ละกลุ่มทำเรื่องอะไรกันบ้าง
    กลุ่มที่ 1 หน่วยยานพาหนะ
    กลุ่มที่ 2 หน่วยต้นไม้
    กลุ่มที่ 3 หน่วยผลไม้
    กลุ่มที่ 4 หน่วยปลา
    กลุ่มที่ 5 หน่วยไข่
    กลุ่มที่ 6 หน่วยดอกไม้
    กลุ่มที่ 7 หน่วยอากาศรอบตัวฉัน


    คำศัพท์ 

    1. The unit = หน่วยการเรียนรู้
    2. spiritual Science = จิตวิทยาศาสตร์  
    3. oxygen  = ออกซิเจน   
    4. property  = คุณสมบัติ
    5. integration = บูรณาการ  




    ทักษะที่ได้รับ
    • การทำงานเป็นกลุ่ม
    • การคิด
    • การตัดสินใจ
    • การลงมือปฏิบัติ
    • การฟัง
    • การสรุปข้อมูล
    การนำมาประยุกต์ใช้
    • สามารถนำเอาองค์ความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในอนาคต
    • สามารถที่จะเขียนหรือวางแผนในเรื่องต่างๆก่อนที่จะลงมือทำกิจกรรมนั้นๆ
    • สามารถระดมความคิดในระยะเวลาสั้นๆได้อย่างรวดเร็ว

    บรรยากาศในห้องเรียน
    • อากาศเย็น ถึงหนาวมาก
    • ทุกคนดูจะหิวข้าวกัน เพราะอาจจะเป็นเพราะตื่นสาย

    การจัดการเรียนการสอน
    • ระดมความคิดต่างๆให้งานออกมาดี ในการทำงานเป็นกลุ่มและเดี่ยว
    • จัดให้นักศึกษาได้ฝึกวางแผนในการที่จะเริ่มทำกิจกรรมต่างๆ
    ประเมินตนเอง
    • ตั้งใจเรียนและร่วมทำกิจกรรม รวมไปถึงการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น 
    ประเมินเพื่อน
    • ทุกคนตั้งใจเรียนและร่วมทำกิจกรรม รวมไปถึงการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ช่วยกันตอบคำถามอาจารย์
    • เพื่อนมีความคิดที่แตกต่างกันไป ทำให้ได้ความรู้เพิ่ม
    ประเมินอาจารย์
    • แต่งกายสุภาพเรียบร้อยดี สอนเข้าใจง่าย เสีงดังชัดเจน
    • มีกิจกรรมมาให้นักศึกษาทำบ่อยๆ







    วันอังคารที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2559

    การบันทึกครั้งที่ 10




    การบันทึกครั้งที่ 10
    วันอังคารที่ 11 ตุลาคม พ.ศ.2559

    • เมื่อเข้ามาในห้องเรียน กิจกรรมการเรียนการสอนแรกในวันนี้ อาจารย์ให้ปรับปรุงแก้ไขของเล่นงานกลุ่มเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว 
    • จากนั้นอาจารย์แจกกระดาษ A4 ให้นักศึกษาคนละ 1 แผ่น เพื่อเขียนขั้นตอนการประดิษฐ์ของเล่นของตนเอง เพื่อนำไปใช้ในการสอนเด็กพร้อมทั้งสามารถบูรณาการ STEM&STEAM





    •  เมื่อทำเสร็จแล้ว อาจารย์ให้นักศึกษาทุกคนนำมาติดที่กระดานหน้าชั้นเรียน

    • จากนั้น อาจารย์ให้นักศึกษาจับกลุ่ม กลุ่มละ 8 คน แล้วให้นักศึกษาช่วยกันระดมความคิดกันในกลุ่ม พร้อมทั้งเลือกของเล่นมา 1 ชิ้น เพื่อนำไปจัดกิจกรรมกับเด็ก โดยทำเป็นวิดีโอขั้นตอนการทำของเล่น ลงใน Youtube 
    • กลุ่มของดิฉันเลยเลือกที่จะทำของเล่น ของ อรณัฐ สร้างสกุล คือ ขวดน้ำนักขนของ

    • จากนั้นก็ถึงเวลานำเสนองานกันแล้วค่ะ
    กลุ่มที่ 1 คานดีดไม้ไอติม

    กลุ่มที่ 2 ขวดน้ำนักขนของ

    กลุ่มที่ 3 เครื่องเป่าลม

    กลุ่มที่ 4 รถพลังงานลม

    คำศัพท์ 
    hypothesis =  สมมติฐาน
    graphics =  กราฟฟิก
    sheet of graph = แผ่นกราฟ
    test = การทดลอง
    issues  = ประเด็นปัญหา

    ทักษะที่ได้รับ
    • การทำงานเป็นกลุ่ม
    • การคิด
    • การตัดสินใจ
    • การลงมือปฏิบัติ
    • การฟัง
    • การสรุปข้อมูล
    การนำมาประยุกต์ใช้
    • สามารถนำเอาองค์ความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในอนาคต
    • สามารถที่จะเขียนหรือวางแผนในเรื่องต่างๆก่อนที่จะลงมือทำกิจกรรมนั้นๆ

    บรรยากาศในห้องเรียน
    • วันนี้ได้ทำงานกลุ่ม ซึ่งเป็นกลุ่มใหญ่กว่าที่เคยทำงานกลุ่มมา รู้สึกชอบค่ะ ได้ความรู้ต่างๆจากเพื่อนๆอีกด้วย

    การจัดการเรียนการสอน
    • จัดให้มีการทดลองและการนำเสนองานทั้งเดี่ยวและกลุ่ม ทำให้มีความคิดสร้างสรรค์และให้นักศึกษาได้คิดวิเคราะห์
    • จัดให้นักศึกษาได้ฝึกวางแผนในการที่จะเริ่มทำกิจกรรมต่างๆ
    ประเมินตนเอง
    • ตั้งใจเรียนและร่วมทำกิจกรรม รวมไปถึงการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น 
    ประเมินเพื่อน
    • ทุกคนตั้งใจเรียนและร่วมทำกิจกรรม รวมไปถึงการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ช่วยกันตอบคำถามอาจารย์
    ประเมินอาจารย์
    • แต่งกายสุภาพเรียบร้อยดี สอนเข้าใจง่าย เสีงดังชัดเจน
    • มีกิจกรรมมาให้นักศึกษาทำบ่อยๆ





    วันอังคารที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2559

    การบันทึกครั้งที่ 9




    การบันทึกครั้งที่ 9
    วันอังคารที่ 4 ตุลาคม พ.ศ.2559
    ***ดิฉันไม่ได้มาเรียนเนื่องจากไปทำงานที่ Act studio ปทุมทานี ค่ะ***