พุยพุย welcome to unchan'blog

วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 4




การบันทึกครั้งที่ 4
วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2559


  • เมื่อเข้ามาในห้องเรียน อาจารย์ให้ไปหยิบกระดาษ 2 แผ่น แผ่นแรกคือ แนวการสอน Course Syllabus แผ่นที่สอง คือ คัดไทย พยัญชนะไทย 44 ตัว
  • เมื่อแจก Course Syllabus แล้ว อาจารย์ได้ตกลงเวลาการเข้าเรียนไม่เกินเวลา 08:45 นาที

เข้าสู่เนื้อหาการเรียนการสอน
  • ประสาทสัมผัสของการเคลื่อนไหว ( Sensoly Motor )
  • จากนั้นอาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5-6 คน ให้ประดิษฐ์ของที่อาจารย์มีให้เพียง 2 ชิ้น คือ คริบหนีบกระดาษ กับ กระดาษ a4 1 แผ่น 
  • ให้เอาสิ่งของ 2 สิ่ง มาประดิษฐ์ในหัวข้อ "อากาศ"

  • อากาศคืออะไร
    อากาศอยู่รอบตัวเราเสมอ เราสามารถรู้ว่ามีอากาศอยู่รอบๆตัวเราได้โดยโบกมือไปมา กระแสลมที่เกิดขึ้นและปะทะกับฝ่ามือของเรา ก็แสดงว่าอากาศมีจริง หรือถ้าเรายืนอยู่ในที่ที่มีลมพัดผ่าน เราจะรู้สึกว่ามีอากาศหรือลมพัดมาถูกตัวเรา แรงลมสามารถทำให้เกิดคลื่นน้ำ หรือหมุนกังหันลมได้
  • ส่วนประกอบของอากาศ
    ส่วนผสมของก๊าซต่างๆและไอน้ำ ซึ่งส่วนใหญ่ได้แก่ ก๊าซไนโตรเจน ก๊าซออกซิเจน คาร์บอนไดออกไซด์ และโอโซน อากาศมีอยู่รอบๆตัวเราทุกหนทุกแห่ง ทั้งบนยอดสูงสุดของภูเขาและในที่จอดรถใต้ดิน อากาศมีอยู่ในบ้าน มีอยู่ในโรงเรียนและในรถยนต์ อากาศไม่มีสี ไม่มีรสชาติ และไม่มีกลิ่น
    ไนโตรเจนเป็นก๊าซที่มีมากที่สุด ประมาณ 78% ก๊าซที่มีปริมาณรองลงมาคือ ก๊าซออกซิเจน ประมาณ 21% เป็นก๊าซที่จำเป็นต่อสิ่งมีชีวิต ส่วนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และโอโซนมีปริมาณน้อยมาก
แหล่งที่มา http://www.sankyo-asia.com/content--4-1955-20465-1.html

>>>>มาดูกันว่าแต่ละกลุ่มจะประดิษเป็นอะไรบ้าง ไปดูกันเลย 



กลุ่มที่ 1 พับเป็นรูปรถ นำเสนอโดยใช้พลังงานในการทดลอง




กลุ่มที่ 2 มีกระดาษเปล่าครึ่งแผ่น กับ กระดาษเปล่าอีกครึ่งแผ่น ขยำๆ นำเสนอโดยใช้แรงต้านในการทดลอง

                                       


กลุ่มที่3กระดาษเปล่า 1 แผ่น ตีกรอบ 4 กรอบวาดรูป สภาพภูมิอากาศทั้ง 4 ฤดู ร้อน หนาว ฝน แล้ง นำเสนอโดยบอกสิ่งตรงข้ามกับเปรียบเทียบกัน  (กลุ่มของดิฉันเองค่ะ)


กลุ่มที่ 4 ใช้กระดาษเปล่าพับเป็นรูปนก แล้วนำคริปหนีบกระดาษง้างออกให้เป็นเส้นตรง เสียบเข้าไปในตัวนก นำเสนอโดยใช้ลมและอากาศในการทดลอง



กลุ่มที่ 5 พับเป็นกังหันลม นำเสนอโดยใช้แรงลมเป่าในการทดลอง


คำศัพท์ 
  • Weather = สภาพภูมิอากาศ
  • Air         = อากาศ
  • Paper    = กระดาษ
  • Paperclip = คลิปหนีบกระดาษ
  • Sensori Motor = ทฤษฎีการพัฒนาทางสติปัญญา


ทักษะที่ได้รับ
  • การทำงานเป็นกลุ่ม
  • การคิด
  • การเขียน
  • การตัดสินใจ
  • การลงมือปฏิบัติ
  • การฟัง
  • การสรุปข้อมูล

การนำมาประยุกต์ใช้
  • สามารถนำเนื้อหาการเรียนไปใช้ในอนาคตได้

บรรยากาศในห้องเรียน
  • ห้องเรียนสะอาด โต้ะเรียนเพียงพอกับนักศึกษา ห้องเรียนอากาศเย็นถึงหนาวมาก

การจัดการเรียนการสอน
  • อาจารย์เตรียมแผนการสอนมาเป็นอย่างดี มีคำถามให้มาคิดเสมอ ให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็น และถามตอบกันภายในห้อง
ประเมินตนเอง
  • ตั้งใจและร่วมทำกิจกรรมเป็นอย่างดี ให้ความร่วมมือทั้งเพื่อนและครู
ประเมินเพื่อน
  • ทุกคนตั้งใจและร่วมทำกิจกรรมเป็นอย่างดี เพื่อนๆทุกคนสนุกสนาน
ประเมินอาจารย์
  • มีกิจกรรมมาให้ทำในทุกคาบที่เรียน อาจารย์สอนดี แต่งตัวสะอาดเรียบร้อยดี






วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 3







การบันทึกครั้งที่ 3
วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2559


  • กิจกรรมการเรียนวันนี้ อาจารย์ให้นักศึกษาสรุปเรื่องของ รูปแบบการเรียนรู้เด็กปฐมวัย
  • อาจารย์ไม่ได้เข้าสอนจึงได้มอบหมายงานไว้ให้นักศึกษาทำในคาบแล้วรวบรวมส่งที่ห้อง



วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 2




การบันทึกครั้งที่ 2
วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ.2559 (เรียนชดเชย วันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ.2559 )
  • ก่อนเริ่มการเรียนการสอน อาจารย์ให้เขียนความรู้เดิมเกี่ยวกับวิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยเขียนเป็นมายแม๊ป ซึ่งมีคำสำคัญอยู่ 3 คำ ได้แก่ การจัดประสบการณ์ วิทยาศาสตร์และเด็กปฐมวัย 



          



  • สาระสำคัญที่อยู่ในหลักสูตร
  1. ธรรมชาติรอบตัว
  2. สิ่งที่อยู่รอบตัวเด็ก
  3. บุคคล
  4. สถานที่
  • key words ทักษะกระบวนการที่ใช้ในการศึกษาสิ่งต่างๆรอบตัว ต้องสืบค้นแสวงหา โดยใช้เหตุและผลและต้องอาศัยการสังเกต รวมไปถึงการทดลองเพื่อตค้นหาความจริงซึ่งจะได้รู้ถึงหลักการทางวิทยาศาสตร์
  • แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ 
  1. ความสมดุล
  2. การเปลี่ยนแปลง
  3. ความแตกต่าง
  4. การปรับตัว
  5. การพึ่งพาอาศัย
  • เจตคติทางวิทยาศาสตร์
  1. ช่างสังเกตอยากรู้อยากเห็น
  2. ความเพียรพยายามสืบค้น เพื่อนำไปทดลอง
  3. ความซื่อสัตย์ ความมีเหตุผล
  4. ความใจกว้าง
  5. ความละเอียดรอบคอบ ความมีระเบียบ
  • ความสำคัญของวิทยาศาสตร์ 
  1. ช่วยให้การดำรงชีวิตของเรา เนื่องจากจะสามารถตอบสนองความต้องการของมนุษย์
  2. ช่วยพัฒนาทักษะกระบวนการต่างๆ
  3. ช่วยเสริมสร้างประสบการณ์
  • ประโยชน์
  1. ทำให้ชีวิตสนุกสนาน
  2. ช่วยพัฒนาแนวคิดพื้นฐาน
  3. ช่วยสร้างความเชื่อมั่นในตนเองให้กับเรา
  • ทักษะคณิตศาสตร์
  • ทักษะทางภาษา
  • ทักษะการลงความเห็น
  • ทักษะการสื่อความหมาย
  • ทักษะการแยกประเภท จำแนก
  • ทักษะความสัมพันธ์ พื้นที่กับเวลา พื้นที่กับพื้นที่
พัฒนาการคือ ความสามารถในแต่ละช่วงอายุ
พัฒนาการทางสติปัญญา มีที่มาจาก สมอง
การเล่น  คือวิธีที่เรียนรู้ที่ดีของเด็ก
  • ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา
  1. เพียเจท์
  2. บรูเนอร์
  3. ไวกอสกี้

คำศัพท์ 
  • The experience  = การจัดประสบการณ์
  • science  = วิทยาศาสตร์
  • early childhood   = เด็กปฐมวัย
  • Learning   = การเรียนรู้
  • Playing     = การเล่น

ทักษะที่ได้รับ
  • การทำงานเป็นกลุ่ม
  • การคิด
  • การเขียน
  • การตัดสินใจ
  • การลงมือปฏิบัติ
  • การฟัง
  • การสรุปข้อมูล
                                        

การนำมาประยุกต์ใช้
  • สามารถนำเนื้อหาการเรียนไปใช้ในอนาคตได้


บรรยากาศในห้องเรียน
  • ห้องเรียนสะอาด โต้ะเรียนเพียงพอกับนักศึกษา ห้องเรียนอากาศเย็นถึงหนาวมาก


การจัดการเรียนการสอน
  • อาจารย์เตรียมแผนการสอนมาเป็นอย่างดี มีคำถามให้มาคิดเสมอ ให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็น และถามตอบกันภายในห้อง
ประเมินตนเอง
  • ตั้งใจและร่วมทำกิจกรรมเป็นอย่างดี
ประเมินเพื่อน
  • ทุกคนตั้งใจและร่วมทำกิจกรรมเป็นอย่างดี
ประเมินอาจารย์
  • สอนดี พูดชัดเจนดี แต่งกายสุภาพเรียบร้อยดี
                         

วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 1



การบันทึกครั้งที่ 1

วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2559 ( ชดเชยของวันอังคารที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2559)
  • ปฐมนิเทศวิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
  • ความรู้เพิ่มเติมวิธีการเรียน
  1. ประสบการณ์มีผิดบ้างถูกบ้างทำให้ทราบอะไรมากขึ้น
  2. การตอบโต้อยู่ในหมวดแนวคิดและหลักการ
  3. การเขียน my map เขียนจากขวาไปซ้าย วนตามเข็มนาฬิกา
             >>> หัวข้อใหญ่ หัวข้อรอง หัวข้อย่อย
  • สร้างข้อตกลงในห้องเรียน
  • อาจารย์ให้นักศึกษาสร้างบล็อคสำหรับวิชานี้ พร้อมทั้งอธิบายรูปแบบและหัวข้อที่ต้องมีในบล็อค

  • การสร้างบล็อคประกอบไปด้วย
  1. แถบ blog ทั้งหมด เป็นภาษา English
  2. link มคอ. 3
  3. งานวิจัย  เป็นภาษา English
  4. หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  5. บทความ  เป็นภาษา English
  6. สื่อ
  • เนื้อหาใน blog 
  1. ความรู้
  2. การนำไปใช้
  3. การประเมิน ครู เพื่อน ตนเอง
  4. การบันทึกในแต่ละครั้งต้องมีคำศัพท์ Meaning English ครั้งละ 5 คำ
  • หาข้อสรุปในห้องเรียน





การนำมาประยุกต์ใช้
  • สามารถนำเนื้อหาการเรียนไปใช้ในอนาคตได้

บรรยากาศในห้องเรียน
  • ห้องเรียนสะอาด โต้ะเรียนเพียงพอกับนักศึกษา ห้องเรียนอากาศเย็นถึงหนาวมาก

การจัดการเรียนการสอน
  • อาจารย์เตรียมแผนการสอนมาเป็นอย่างดี มีคำถามให้มาคิดเสมอ ให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็น และถามตอบกันภายในห้อง
ประเมินตนเอง
  • ตั้งใจและร่วมทำกิจกรรมเป็นอย่างดี
ประเมินเพื่อน
  • ทุกคนตั้งใจและร่วมทำกิจกรรมเป็นอย่างดี
ประเมินอาจารย์
  • สอนดี พูดชัดเจนดี แต่งกายสุภาพเรียบร้อยดี